ไม่อยากโดนแฮกเฟซบุ๊กต้องทำอย่างไร

09 พ.ค. 2566 / กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
ไม่อยากโดนแฮกเฟซบุ๊กต้องทำอย่างไร
เมื่อสื่อสังคมออนไลน์ได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของเราอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นในแง่ของการติดต่อสื่อสาร การค้าขาย รวมถึงการทำธุรกรรมออนไลน์
การใช้งานสื่อออนไลน์ อาจจะเป็นเรื่องใหม่สำหรับหลาย ๆ ท่าน ซึ่งอาจทำให้มิจฉาชีพใช้โอกาสนี้ ทำการแฮกเข้าระบบสื่อออนไลน์ของท่านมากระทำความผิด สร้างความเสียหายแก่ท่านได้ เพื่อเป็นการป้องกันเบื้องต้น และลดช่องทางการก่ออาชญากรรมของเหล่ามิจฉาชีพ จึงขอแนะนำประชาชนผู้ใช้สื่อออนไลน์ปฎิบัติตามนี้
 
1. เปลี่ยนรหัสผ่าน ทุก ๆ 3 หรือ 6 เดือน และเป็นรหัสที่สามารถคาดเดาได้ยาก โดยไม่เกี่ยวกับข้อมูลส่วนตัว
2. ไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลบนสื่อออนไลน์
3. การตั้งค่าเข้ารหัสความปลอดภัย 2 ชั้น ในกรณีที่แพลตฟอร์มนั้นๆ มีให้บริการ
4. หากถูกคนรู้จักทักผ่านช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ และถูกยืมเงิน ให้ตรวจสอบโดยการโทรศัพท์ไปตรวจสอบกับผู้ยืมโดยตรง
 
ที่มา : กองบังคับการปราบปราม
 

บทความที่เกี่ยวข้อง

Mobile Banking ใช้อย่างไรให้ปลอดภัย

Mobile Banking เป็นแอปพลิเคชันเกี่ยวกับการทำธุรกรรมการเงินต่าง ๆ ได้อย่างอิสระ สะดวก รวดเร็ว แต่ในความสะดวกรวดเร็วนั้นก็มีความเสี่ยงในขณะใช้เช่นกัน ซึ่งมีวิธีปฏิบัติเพื่อให้เกิดความปลอดภัยได้ดังนี้ &

อ่านบทความนี้

ซื้อยาออนไลน์ อันตรายกว่าที่คิด

การซื้อยาผ่านช่องทางออนไลน์มากินเอง มีความเสี่ยงที่จะได้ยารักษาที่ไม่ตรงกับอาการ ยาไม่มีคุณภาพ หรือยาปลอม ซึ่งการจะรักษา หรือบรรเทาอาการนั้น ๆ จะต้องเข้าไปปรึกษาอาการเบื้องต้นกับเภสัชกร เพ

อ่านบทความนี้

ของถูก ระวังถูกหลอก

ปัจจุบันนี้มิจฉาชีพมีการออกอุบายในการหลอกลวงขายสินค้าในช่องทางออนไลน์หลากหลายรูปแบบ วิธีการหนึ่งที่กลุ่มมิจฉาชีพนำมาใช้คือการ “หลอกขายสินค้าราคาถูก” โดยจะมีการออกอุบายดังนี้ จะมีการ

อ่านบทความนี้