ข่าวปลอมออนไลน์ สังเกตอย่างไร
08 พ.ค. 2566 / กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมปัจจุบันสามารถรับข่าวสารได้หลากหลายช่องทาง โดยเฉพาะช่องทางอินเทอร์เน็ต เนื่องจากมีความสะดวกรวดเร็วในการรับและส่งข่าวสารต่อ ๆ กัน ทำให้เป็นช่องทางหนึ่งสำหรับผู้ประสงค์ร้ายในการโน้มน้าวชักจูง หรือโฆษณาชวนเชื่อ โดยการสร้างเนื้อหาโจมตีฝ่ายตรงข้าม สร้างความแตกแยกชิงชัง จนเกิดความเข้าใจผิด หรือให้ความรู้ที่บิดเบือน วันนี้จึงได้มีข้อสังเกต และโทษของการผลิตหรือแชร์ Fake News มาให้ทุกคนทราบกัน
1. ตรวจสอบว่ามีเว็บไซต์ หรือ แหล่งข่าวอื่นที่เผยแพร่ข่าวเดียวกันหรือไม่ ถ้ามีเพียงแหล่งข่าวเดียว ก็อาจเป็นไปได้ว่าเป็นข่าวที่ไม่น่าเชื่อถือ
2. ดูความน่าเชื่อถือของเว็บไซต์ที่เผยแพร่ข่าว ถ้าเป็นเว็บไซต์ข่าวที่มีไม่กี่หน้า ไม่ระบุที่อยู่สำหรับติดต่อก็อาจเป็นไปได้ว่า เป็นเว็บไซต์ที่ถูกสร้างเพื่อเผยแพร่ข่าวปลอม
3. สอบถามบนเว็บบอร์ด หรือ ติดต่อสำนักข่าวที่น่าเชื่อถือ ให้ช่วยตรวจสอบ
4. บ่อยครั้งที่ข่าวปลอมมักจะใส่ภาพจากข่าวเก่า เพื่อทำให้ดูน่าเชื่อถือ ผู้ใช้อาจพิจารณาใช้งานบริการของ TinEye หรือ Google Reverse Image Search (คลิปสาธิตการใช้งาน thcert.co/2NwdBa เพื่อค้นหาว่ารูปดังกล่าวปรากฎอยู่ในข่าวเก่าหรือไม่
5. ตรวจสอบโดย การนำชื่อข่าว หรือ เนื้อความในข่าวมาค้นหาใน Google อาจพบเว็บไซต์แจ้งเตือนว่าข่าวดังกล่าวเป็นข่าวปลอม หรือดูวันที่เผยแพร่ข่าว อาจพบว่าเป็นข่าวจริงแต่เผยแพร่แล้วเมื่ออดีต
โดยผู้ที่โพสต์ หรือแชร์ข่าวปลอม อาจได้รับโทษทางกฎหมาย มีโทษ จำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และหากข้อมูลนั้นทำให้บุคคล องค์กร หน่วยงาน เสื่อมเสียชื่อเสียง หรือ ถูกดูหมิ่นเกลียดชัง อาจจะได้รับโทษในความผิดฐานหมิ่นประมาท มีโทษ จำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ที่มา : บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน)