ประเด็นสนทนารายการบ่ายนี้มีคำตอบ "พลิกการศึกษาไทย เดินหน้าไปด้วยกัน"

03 ธ.ค. 2562 / กระทรวงศึกษาธิการ
ประเด็นสนทนารายการบ่ายนี้มีคำตอบ "พลิกการศึกษาไทย เดินหน้าไปด้วยกัน"

กรอบประเด็นสนทนาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ) ในรายการบ่ายนี้มีคำตอบ ช่อง ModernNine วันที่ 2 ธันวาคม 2562 ประเด็น “พลิกการศึกษาไทย เดินหน้าไปด้วยกัน”

แนวคิดที่จะพลิกการศึกษาไทย เดินหน้าไปด้วยกัน

  • นับตั้งแต่วันที่ 18 กรกฎาคม 2562 ซึ่งเข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรี ได้พบปะผู้บริหารกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อสื่อสารแนวทางการทำงานของรัฐบาลและกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อที่จะ “พลิกการศึกษาไทย เดินหน้าไปด้วยกัน”
  • ได้ไปตรวจเยี่ยมโรงเรียนหลายแห่งแบบไม่แจ้งล่วงหน้า (Surprise Visit) ทำให้เห็นสภาพปัญหาความต้องการจริงๆ ของครู นักเรียน และชุมชนในแต่ละพื้นที่
  • เหตุผลที่ต้อง “พลิกการศึกษาไทย” เพราะสิ่งที่ดีในวงการศึกษามีมากมาย เพียงแต่ยังไม่ได้เค้นศักยภาพออกมาใช้จนถึงขีดสุด รวมทั้งการบริหารจัดการที่ต้องปรับปรุงเปลี่ยนแปลงในบางจุดให้มีทั้งประสิทธิภาพและประสิทธิผล เพื่อให้การศึกษาเป็นเสาหลักในการพัฒนาประชาชนคนไทยทุกระดับ ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงตลอดชีวิต เน้นการทำงานเป็นทีม ทลายไซโลที่ต่างคนต่างทำ
  • สิ่งที่ต้อง “เดินหน้าไปด้วยกัน” เพื่อขับเคลื่อนองคาพยพไปด้วยกัน ทั้งครู นักเรียน ผู้บริหาร บุคลากรทางการศึกษา
              – เน้นวาระเร่งด่วนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สร้างเด็กไทยให้แข่งขันได้ในศตวรรษที่ 21
              – ให้ความสำคัญกับเด็กปฐมวัย เพื่อนำพาประเทศในอนาคต
              – นำทุกปัญหามาแก้ไข พร้อมเปิดใจรับฟังทุกความคิดเห็น
              – ให้ความสำคัญคุณภาพชีวิตครู มีความพร้อมเป็นแม่พิมพ์ของชาติ
              – พร้อมดูหลักสูตรที่เชื่อมโยงกับโลกยุคดิจิทัล
              – เน้นทำงานประสานร่วมกันเป็นทีมเดียว คือ ทีมกระทรวงศึกษาธิการ ที่จะเป็น Big One Team
              – พร้อมปรับปรุงแก้ไขกฎระเบียบให้เอื้อต่อการพัฒนาการศึกษา
              – การส่งเสริมมาตรฐานของครูเป็นเรื่องสำคัญ
              – การสร้างวินัย จิตอาสา เสริมสร้าง Hard Skill- Soft Skill-Professional Skill ในแต่ละช่วงวัยของผู้เรียนให้เหมาะสม
              – การประเมินบุคลากรเพื่อเข้าสู่ตำแหน่งต่างๆ จะนำองค์ประกอบที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์เข้ามามีส่วนในการพิจารณามากขึ้น
  • ทั้งหมดนี้จะนำไปสู่การวางรากฐาน 5 ด้านที่สำคัญ คือ 1) ครูและบุคลากรมีคุณภาพสูง 2) มีการเรียนการสอนสามภาษา 3) สร้างโอกาสทางการศึกษาที่เท่าเทียม 4) ใช้เทคโนโลยีการเรียนการสอนที่ทันสมัย 5) จัดระบบการศึกษาที่ยืดหยุ่น สายสามัญ-สายอาชีพสายเดียวกัน เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ไปสู่ศตวรรษที่ 21
  • ความสำเร็จของการวางรากฐาน ต้องคำนึงถึง 7 ด้าน คือ ครู นักเรียน ผู้ปกครอง ตำรา หลักสูตร วิธีการเรียนการสอน และการวัดผล เพื่อตอบสนองผู้เรียนทั้ง 7 ช่วงชั้น คือ ก่อนอนุบาล อนุบาลศึกษา ประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น มัธยมศึกษาตอนปลาย อาชีวศึกษา และการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

แนวคิดการรัดเข็มขัดงบประมาณของ ศธ. ใน 4 เรื่อง

          – งบประมาณที่ซ้ำซ้อน ลดการทุจริต  ที่ผ่านมาเรื่องนี้ถือเป็นหัวใจที่สำคัญ และเป็นจุดอ่อนของ ศธ.มาโดยตลอด รองนายกรัฐมนตรี (วิษณุ เครืองาม) ได้เคยย้ำเรื่องนี้ในการประชุมผู้บริหาร ศธ. เมื่อต้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมาด้วยว่า เมื่อตรวจสอบการทุจริต ศธ.เจอปัญหานี้มาก เราจึงให้ความสำคัญเรื่องนี้ เพื่อจะช่วยประหยัดการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐให้ถูกต้องตามระเบียบและหลักธรรมาภิบาล โดย ศธ.ต้องปรับตัวในเรื่องนี้ เพื่อเป็นต้นแบบในการสร้างคน ควบคู่ไปกับการเป็นต้นแบบการแก้ปัญหาการทุจริตในหน่วยงานภาครัฐ
          – สิ่งที่ ศธ.เน้นย้ำให้รัดเข็มขัด 4 เรื่อง คือ
                   – งด ศึกษาดูงานต่างประเทศ 1 ปี เพราะใช้เวลาไปดูงานมาหลายครั้ง ปีนี้จะเป็นปีที่นำองค์ความรู้มาใช้จัดการศึกษา
                   – ลด จัดประชุมสัมมนาที่ใหญ่โต ทดแทนได้ด้วยเทคโนโลยี เช่น การประชุมทางไกล
                   – ยกเลิก การจัดงาน Event ที่มีค่าใช้จ่ายสูง ยกเว้นการจัดงานที่มีรายละเอียดการจัดงานยุ่งยาก ต้องยกเว้นให้เป็นรายกรณี เช่น งานวันเด็ก ซึ่งก็ส่งผลถึงตัวเด็กโดยตรง
                   – ทบทวน งบประมาณที่ซ้ำซ้อน มีการปรับปรุงโครงสร้าง ควบรวมสายงานที่เหมือนกัน บูรณาการการทำงานไว้ด้วยกัน

สร้างโอกาส เพิ่มประสิทธิภาพ คุณภาพ ลดความเหลื่อมล้ำด้วย Digital Transformation

          – ศธ.กำหนดแนวทางการใช้ดิจิทัลเพื่อการศึกษา เพื่อนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยไปพัฒนา ปรับปรุง สนับสนุนการศึกษาใน 2 ส่วน คือ 1) สถานศึกษา และ 2) หน่วยงานทางการศึกษา
          – สถานศึกษา จะได้รับการวางระบบโครงสร้างพื้นฐาน และอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ให้ครอบคลุมสถานศึกษาทุกพื้นที่ทั่วประเทศ ทั้งโรงเรียนขนาดเล็ก ขนาดกลาง ไปจนถึงขนาดใหญ่ โดยดำเนินการเป็นขั้นตอนที่แตกต่างกันไปสภาพของแต่ละโรงเรียน เพื่อให้โรงเรียนใช้ประโยชน์เพื่อการเรียนการสอน อันจะส่งผลให้ผู้บริหารสถานศึกษา ครู นักเรียน เข้าถึงแหล่งข้อมูลการศึกษาได้โดยตรง ซึ่งจะช่วยลด “ความเหลื่อมล้ำ” ทางด้านการศึกษา ส่งผลต่อ “คุณภาพการศึกษา” ได้
          – หน่วยงานทางการศึกษา จะนำเทคโนโลยีไปสนับสนุนระบบบริหารจัดการของหน่วยงานทุกระดับ ตั้งแต่หน่วยงานระดับสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด ไปจนถึงหน่วยงานส่วนกลางของกระทรวงศึกษาธิการ
          – เมื่อมองทั้ง 2 ส่วนเข้าด้วยกัน ก็จะเห็นว่าเรามีโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) และอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงครบทุกโรงเรียนและหน่วยงาน ซึ่งจะช่วยให้เกิด “ประสิทธิภาพ” ทางการศึกษามากขึ้น ซึ่งการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้าไปสนับสนุนทั้งสองส่วนนี้ จะช่วยให้ได้การเข้ามาของระบบข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) จะ Feed เข้าไปโดยอัตโนมัติ เช่นเดียวกันผลลัพธ์ของ Big Data ที่ ศธ.จัดทำขึ้นจนเป็นข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน ก็จะวนกลับมาถึงสถานศึกษาและหน่วยงานที่สามารถนำไปใช้ได้

แนวทางการเพิ่มทักษะภาษาอังกฤษแก่ครู-นักเรียนไทย

          – ศธ.จัดตั้งศูนย์ ERIC (Education Resources Information Center) ครบทั้ง 77 แห่ง (ทุกจังหวัดและกรุงเทพฯ) เพื่อเป็นศูนย์พัฒนาทักษะครูผู้สอนใน 2 เรื่องที่สำคัญที่ครูยุคใหม่จำเป็นต้องมี คือ 1) ทักษะภาษาอังกฤษ 2) ทักษะความเข้าใจและการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Literacy)
          – ศูนย์นี้จะทำหน้าที่หลัก 2 ด้าน คือ เป็นศูนย์ฝึกอบรมพัฒนา และเป็นศูนย์ทดสอบ เพื่อทำหน้าที่วัดและประเมินผลทักษะทั้ง 2 ด้านดังกล่าวของครูผู้สอน (อาจจะเปลี่ยนชื่อศูนย์ โดยเพิ่มด้านดิจิทัลเข้าไป)
          – หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
                   – คุรุสภา “เป็นต้นน้ำ” เพื่อกำหนดมาตรฐานวิชาชีพครู ซึ่งประกอบด้วย 3 ด้าน คือ 1) ความรู้ทักษะภาษาอังกฤษ 2) ดิจิทัล และ 3) ภาษาไทย โดยครูและผู้บริหารสถานศึกษาจะมีมาตรฐานและสมรรถนะที่แตกต่างกันตามแต่ละสาขาวิชา เช่น ครูภาษาอังกฤษ จะต้องมีมาตรฐานและสมรรถนะด้านภาษาอังกฤษดีทุกด้าน ในขณะที่ครูคณิตศาสตร์จะเน้นพื้นฐานภาษาอังกฤษที่สามารถอ่านออกได้เป็นลำดับแรก ในขณะที่ผู้บริหารต้องมีทักษะที่สามารถฟัง-พูด-อ่าน-เขียนได้ เพราะเป็นความจำเป็นในการบริหารงานและการติดต่อสื่อสาร
                   – ก.ค.ศ. “เป็นกลางน้ำ” เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์วิธีการคัดเลือก ระบบการสรรหา การสร้างแรงจูงใจ เช่น เงินค่าตอบแทน ฯลฯ
                   – หน่วยงานที่มีข้าราชการครูในสถานศึกษา “เป็นปลายน้ำ” เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้ครูในสังกัดทุกคนได้รับการพัฒนาใน 2 ด้านดังกล่าว คือ สพฐ./สอศ./กศน.

แนวทางพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา ศูนย์ความเป็นเลิศทางการอาชีวศึกษา (Excellent Center)

          – สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ได้ประกาศจุดเน้นและทิศทางในการขับเคลื่อนนโยบาย ปี พ.ศ. 2563 ไปสู่การพัฒนาศูนย์ความเป็นเลิศทางการอาชีวศึกษา (Excellent Center)
          – กรอบแนวความคิดของ Excellent Center จะมีการจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรม (Training Center) ศูนย์การเรียนรู้อาชีพ (Vocational Learning Center) โดยถ่ายองค์ความรู้ ทักษะ และสมรรถนะ ที่ตรงตามความต้องการของสถานประกอบการและทักษะใหม่ที่จำเป็นต่อการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีและนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง และพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้สู่การผลิตเป็นสินค้า นวัตกรรม ที่จะช่วยสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันระดับประเทศ และระดับนานาชาติ
          – เป้าหมาย จัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศการอาชีวศึกษา (Excellent Center) ในระดับภูมิภาค ที่สอดคล้องกับ 10 + 2+1 อุตสาหกรรมเป้าหมาย และโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ  โดยคัดเลือกสถานศึกษาอาชีวศึกษาที่มีความพร้อมและมีต้นทุนการพัฒนาต่อเนื่องจากโครงการที่ผ่านมา เช่น โครงการส่งเสริมสถานศึกษาอาชีวศึกษาให้มีความเป็นเลิศเฉพาะทาง โครงการอาชีวะพรีเมี่ยม โครงการ Excellent School  สานพลังประชารัฐ E2 ฯลฯ จำนวน  44 แห่ง 11 กลุ่มอาชีพ เพื่อคัดเลือกเป็นสถานศึกษานำร่องของ Excellent Center
          – รายชื่อสถานศึกษานำร่อง Excellent Center จำนวน 44 แห่ง 11 กลุ่มอาชีพ

– รายชื่อสถานศึกษา Excellent Center แยกตามระดับภูมิภาค 5 ภาค คือ
                    1. กรุงเทพมหานคร จำนวน 12  แห่ง
                   2. ภาคเหนือ จำนวน 7 แห่ง
                   3. ภาคใต้ จำนวน 6 แห่ง
                   4. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 10 แห่ง
                   5. ภาคตะวันออก จำนวน 9 แห่ง
          – รายชื่อสถานศึกษา Excellent Center แยกตามประเภทวิทยาลัย ดังนี้
                   1. วิทยาลัยเทคนิค  จำนวน  26 แห่ง
                   2. วิทยาลัยอาชีวศึกษา  จำนวน 7 แห่ง
                   3. วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี  จำนวน 7 แห่ง
                   4. วิทยาลัยการอาชีพ  จำนวน 4 แห่ง

รูปภาพเพิ่มเติม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ลมหนาวระลอกใหม่มาแน่! 20 - 25 ธ.ค. นี้ ทั่วไทยอุณหภูมิลดลง 2 - 8 องศาฯ

กรมอุตุนิยมวิทยา เผยช่วงวันที่ 20 - 25 ธ.ค. 66 มวลอากาศเย็นกำลังแรงอีกระลอกหนึ่งจากประเทศจีนจะแผ่เสริมลงมาปกคลุมประเทศไทยและทะเลจีนใต้ ทำให้ประเทศไทยมีอากาศเย็นถึงหนาวกับมีลมแรง ขอให้ประชาชนดูแลรักษ

อ่านบทความนี้

ย้ำเตือนประชาชน อย่าหลงกลตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพ พบมูลค่าความเสียหายกว่า 50,000 ล้านบาท

นายคารม พลพรกลาง รองโฆษกรัฐบาล ย้ำเตือนประชาชน ตั้งสติ อย่าตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพ ที่ใช้อุบายหลอกลวง สร้างความน่าเชื่อถือในหลายรูปแบบ แม้รัฐบาลได้เน้นย้ำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเฝ้าระวังและตรวจสอบอย่า

อ่านบทความนี้

เชิญมาเที่ยวงาน "เพื่อนพึ่ง (ภาฯ) 2566" น้ำพระทัยสองพระมิ่งขวัญเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) เปี่ยมล้นพระเมตตาผู้ประสบอุทกภัย

งานเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) 2566 สถานที่ใหม่ เดินทางสะดวกกว่าเดิม เดินทางมาเที่ยวงานสะดวกมาก ทั้งรถสาธารณะ และรถส่วนตัว ที่จอดรถกว้างขวาง ภายในงานติดแอร์ตลอดทั้งงาน ไม่ต้องกลัวร้อน กลัวฝน   งานเริ่มแ

อ่านบทความนี้