หิด โรคผิวหนังใกล้ตัว

16 ก.ย. 2562 / กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
หิด โรคผิวหนังใกล้ตัว

ใครที่มักมีอาการคันบริเวณผิวหนัง ง่ามมือ หรือบริเวณอื่นๆ ของร่างกาย คุณอาจกำลังเสี่ยงเป็น"โรคหิด" อยู่ก็ได้นะครับ "หิด" สามารถติดต่อได้ง่ายจากการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ที่เป็นโรคหิด เช่น สัมผัสผิวหนังโดยตรง สัมผัสสิ่งของเครื่องใช้ เสื้อผ้า ที่นอน และมักพบว่าเป็นกันทั้งครอบครัว หรือมักจะระบาดอยู่ในชุมชน ที่มีคนอยู่หนาแน่น

โรคหิด เป็นโรคผิวหนังอักเสบชนิดหนึ่ง ที่เกิดจากการติดเชื้อไร ซึ่งมีขนาดเล็กมากและไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า โดยหลังจากที่ได้รับเชื้อ หิดตัวเมียจะหาที่ที่เหมาะสมตามผิวหนังของเราเพื่อวางไข่ และใช้เวลาประมาณ 3-4 วัน ในการฟักตัวและจะโตเต็มที่ใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์

อาการของโรค คือเป็นผื่น และคันมาก โดยเฉพาะตอนกลางคืน ซึ่งจะเกิดหลังจากติดเชื้อประมาณ 2 สัปดาห์ ผื่นมีลักษณะเป็นตุ่มน้ำใสหรือตุ่มแดง มักพบกระจายไปทั่วตัว บริเวณที่พบได้บ่อย คือ ง่ามมือ ง่ามเท้า ข้อพับ รักแร้ อวัยวะเพศ รอบสะดือและก้น ในเด็กอาจพบผื่นที่บริเวณใบหน้าและศีรษะได้

หิดเป็นโรคที่สามารถรักษาให้หายได้ ซึ่งหากเป็นแล้วต้องรักษาคนใกล้ชิดที่อยู่บ้านเดียวกันด้วย โดยการใช้ครีม โลชั่น หรือยาขี้ผึ้ง ทาผิวหนัง หรือในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการรุนแรง การทายาไม่ได้ผล หรือลุกลามแพร่กระจายมากขึ้น แพทย์อาจให้ยารับประทานในการรักษา ซึ่งต้องพิจารณาเป็นรายๆ ไป และอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์เท่านั้น

 

เพื่อป้องกันการติดเชื้อเราควรดูแลรักษาความสะอาดของร่างกายอย่างสม่ำเสมอไม่สัมผัสใกล้ชิด หรือนอนเตียงเดียวกับผู้ป่วย แยกของใช้ส่วนตัวและไม่ใช้ของร่วมกับคนอื่น

ที่มา: โรงพยาบาลรามคำแหง

ภาพ: thaihealth

บทความที่เกี่ยวข้อง

แพทย์ผิวหนังเผยสาเหตุของภาวะผมร่วง

กรมการแพทย์ โดยสถาบันโรคผิวหนัง เผยสาเหตุของภาวะผมร่วงเกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ แต่ทุกสาเหตุสามารถรักษาได้ ผู้ป่วยที่มีภาวะผมร่วงแนะนำให้เข้ามาปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อรับการวินิจฉัยรักษาที่ถูกต้องนาย

อ่านบทความนี้

ปฏิบัติตัวอย่างไรเมื่อเราเป็นผู้สัมผัสเสี่ยงสูง ?

ที่มา : กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข#สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์

อ่านบทความนี้

วัคซีน 4 เข็ม สร้างภูมิคุ้มกันทางใจ รับมือโควิด 19

1. วัคซีน DMHTT ความรู้สึกปลอดภัย เข้มมาตรการป้องกันโรค สวมหน้ากากอนามัย ล้างมือ เว้นระยะห่าง ไม่ไปในสถานที่แออัด2. วัคซีนความหวัง มีมุมมองทางด้านบวก3. วัคซีนไม่ตระหนก การแยกแยะข้อมูลข่าวสาร รับฟังข้อ

อ่านบทความนี้