ก.แรงงาน ติวเข้มเกษตรทฤษฎีใหม่ รับเทคโนโลยีบริหารจัดการน้ำอัจฉริยะ

10 มิ.ย. 2562 / กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
ก.แรงงาน ติวเข้มเกษตรทฤษฎีใหม่ รับเทคโนโลยีบริหารจัดการน้ำอัจฉริยะ

ก.แรงงาน ร่วมกับจังหวัดกาฬสินธุ์ จัดหลักสูตรบริหารจัดการน้ำอัจฉริยะ ให้กลุ่มเกษตรกร ตามโครงการ "Kalasin Happiness Model" ยกระดับทักษะฝีมือ เพิ่มรายได้และผลผลิตการเกษตร

นายสุทธิ สุโกศล อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า เพื่อขับเคลื่อน นโยบาย 3 A ของกระทรวงแรงงาน ด้านการยกระดับทักษะฝีมือแรงงานคุณภาพ (super worker) ให้ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย โดยเฉพาะกลุ่มแรงงานนอกระบบ ซึ่งผลการสำรวจปี 2561 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติพบว่า ประเทศไทยมีแรงงานนอกระบบมากถึง 21.2 ล้านคน ร้อยละ 55.5 ทำงานอยู่ในภาคเกษตรกรรม หรือประมาณ 11.7 ล้านคน และภาคการเกษตรต้องใช้น้ำในการเพาะปลูก กพร.จึงมอบหมายให้หน่วยงานในสังกัดบูรณาการในรูปแบบประชารัฐ กับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในพื้นที่ ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำเทคโนโลยีดิจิทัลและอิเล็กทรอนิกมาพัฒนาทักษะแก่แรงงานภาคการเกษตรในพื้นที่ให้เป็น Smart Farmer สามารถลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ

นายสุทธิ กล่าวต่อไปว่า สำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานกาฬสินธุ์ ได้ร่วมกับภาคีเครือข่ายภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม จัดอบรมหลักสูตรเสริมทักษะ บริหารจัดการน้ำอัจฉริยะผ่านเครือข่ายมือถือ ภายใต้โครงการ Kalasin Happiness Model ซึ่งเป็นแนวคิดในการพัฒนาแรงงานนอกระบบ ที่มุ่งเน้นการพัฒนา สร้างพลังขับเคลื่อนใหม่ (New Engine) ตามแนวทางเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ สู่ "Kalasin Green Market" และเพิ่มโอกาสในการประกอบอาชีพแก่แรงงานในเขตพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์

หลักสูตรเสริมทักษะ และบริหารจัดการน้ำอัจฉริยะผ่านเครือข่ายมือถือด้วยเทคโนโลยี Internet of things มีระยะเวลาฝึกอบรม 30 ชั่วโมง เนื้อหาประกอบด้วย ระบบควบคุมน้ำอัจฉริยะผ่านมือถือ การติดตั้งระบบควบคุม ลักษณะการทำงานของระบบควบคุม การออกแบบระบบสูบน้ำให้พืช ระบบส่งน้ำให้พืชและระบบอิเล็กทรอนิกส์กับระบบการสื่อสารผ่านมือถือ

นายเจษฎา จันทร์อุไร ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานกาฬสินธุ์ (สนพ.) กล่าวเพิ่มเติมว่า ในปี 2562 สนพ.กาฬสินธุ์ มีเป้าหมายดำเนินการพัฒนาทักษะและเสริมองค์ความรู้ให้ผู้ประกอบการ ธุรกิจ SME/ กลุ่ม OTOP กลุ่มวิสาหกิจชุมชน และแรงงานทั่วไปในภาคการเกษตร ทั้งหมด 10 กลุ่มๆ ละ 20 คน รวม 200 คน ในพื้นที่ 10 อำเภอ ประกอบด้วย กลุ่มวิสาหกิจชุมชนปันบุญ อ.ฆ้องชัย กลุ่มปลูกผักแปลง บ้านบัวน้อย อ.ยางตลาด กลุ่มเศรษฐกิจชุมชนบ้านแกเปะ อ.เมือง กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่คนรุ่นใหม่ ตามรอบวิถีภูไทเขาวง อ.เขาวง กลุ่มปลูกผักอินทรีย์ บ้านอุปรี อ.ห้วยผึ้ง กลุ่มปลูกผักอินทรีย์ บ้านสองห้อง อ.ร่องคำ กลุ่มผักปลอดภัยคำบอนกรีน อ.สหัสขันธ์ กลุ่มเกษตรอินทรีย์ ไร่แทนคุณ อ.ห้วยเม็ก กลุ่มเกษตรอินทรีย์บ้านหนองยางใต้ อ.คำม่วง และ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนKS อ.ท่าคันโท เพื่อนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการเพิ่มผลผลิตของตนต่อไป

สำหรับประชาชนที่สนใจฝึกอบรมในด้านอื่นๆ สามารถติดต่อสถาบันและสำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานทั่วประเทศ โดยไม่มีค่าใช้จ่าย หรือดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.dsd.go.th หรือสอบถามรายละเอียดได้ที่สายด่วนกระทรวงแรงงาน 1506 กด 4 หรือกองสื่อสารองค์กร กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน 0 2245 4035

 

ข่าวต้นฉบับ

บทความที่เกี่ยวข้อง

ล้ำไปอีกขั้น!! สตาร์ทอัพเมกาปั้นหุ่นยนต์ปลูกผัก ลดขั้นตอนที่ใช้คน แถมช่วยประหยัดน้ำ

อุตสาหกรรมการเกษตร ยังคงเป็นเรื่องที่หลายประเทศให้ความสำคัญ เพราะหากสามารถผลิตผล หรือมีนวัตกรรมที่เข้ามาช่วยยกระดับก็จะทำให้สามารถสร้างแหล่งอาหารที่มีประสิทธิภาพของผู้คนปฏิเสธไม่ได้ว่าด้วยเทคโนโลยีที่

อ่านบทความนี้

ใครเคยลองแล้วบ้าง?! "น้ำมันขี้ม้อน" สุดยอดไอเท็มเด็ดแห่งปี สรรพคุณช่วยต้านมะเร็ง บำรุงสมอง

ดร.กิตติวุฒิ เกษมวงศ์ หัวหน้าทีมวิจัยกระบวนการระดับนาโนเพื่ออุตสาหกรรมเกษตร ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เปิดเผยว่า นาโนเทค ร่วมกับศูนย์วิจ

อ่านบทความนี้

เปิดตัวข้าว 4 พันธุ์ใหม่ ชูจดเด่นให้ผลผลิตสูง-เริ่มจไหน่ายให้เกษตรกรธันวาคม

เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2565 นายณัฏฐกิตติ์ ของทิพย์ อธิบดีกรมการข้าว เป็นประธานคณะกรรมการพิจารณารับรองพันธุ์ ครั้งที่ 1/2565 โดยมีผู้บริหาร ผู้แทนจากภาคส่วนต่างๆ ผู้ทรงคุณวุฒิ เข้าร่วมการพิจารณารับรอ

อ่านบทความนี้